ผู้เขียน หัวข้อ: หมอออนไลน์: กระดูกพรุน (Osteoporosis)  (อ่าน 100 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 294
    • ดูรายละเอียด
หมอออนไลน์: กระดูกพรุน (Osteoporosis)
« เมื่อ: 11 เมษายน 2024, 16:23:27 pm »
โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่มีปริมาณแร่ธาตุ (ที่สำคัญคือแคลเซียม) ในกระดูกลดลง ร่วมกับความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบเป็นโครงสร้างภายในกระดูก ทำให้เนื้อหรือมวลกระดูกลดความหนาแน่น จึงเปราะและแตกหักง่าย บริเวณที่พบการหักของกระดูกได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ สะโพก และสันหลัง

โรคที่พบมากในคนสูงอายุ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า และผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคกระดูกพรุน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป

สาเหตุ

กระดูกประกอบด้วย โปรตีน คอลลาเจน และแคลเซียม โดยมีแคลเซียมฟอสเฟตเป็นตัวทำให้กระดูกแข็งแรง ทนต่อแรงดึงรั้ง

กระดูกมีการสร้างและสลายตัวอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ขณะที่มีการสร้างกระดูกใหม่โดยใช้แคลเซียมจากอาหารที่กินเข้าไป ก็มีการสลายแคลเซียมในเนื้อกระดูกเก่าออกมาในเลือดและถูกขับออกมาทางปัสสาวะและอุจจาระ ปกติในเด็กจะมีการสร้างกระดูกมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกมีการเจริญเติบโต มวลกระดูกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนมีความหนาแน่นสูงสุด เมื่ออายุประมาณ 30-35 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้าง ทำให้กระดูกค่อย ๆ บางตัวลงตามอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีการลดลงของฮอร์โมนเอสโทรเจนอย่างรวดเร็ว ฮอร์โมนชนิดนี้ช่วยการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายและชะลอการสลายของแคลเซียมในเนื้อกระดูก เมื่อพร่องฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะทำให้กระดูกบางตัวลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาวะกระดูกพรุน

ดังนั้น โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่จึงเกิดจากภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิง (ซึ่งจะเริ่มมีอัตราเร่งของการสลายตัวของกระดูกในช่วง 10-20 ปี หลังหมดประจำเดือน) และความเสื่อมตามอายุที่มีการสะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยาวนานของการเสียดุลระหว่างการสร้างและการสลายของกระดูก (พบได้ทั้งชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 75 ปี)

นอกจากนี้ยังอาจพบร่วมกับภาวะอื่น ๆ เรียกว่า กระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิ (secondary osteoporosis) เช่น

    ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคคุชชิง ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน เบาหวาน โรคปวดข้อรูมาตอยด์ เอลแอลอี โรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง มะเร็ง (เต้านม เม็ดเลือดขาว ต่อมน้ำเหลือง)
    ภาวะขาดสารอาหารและแคลอรี ภาวะขาดแคลเซียม
    น้ำหนักน้อย (ผอม)
    การใช้ยาติดต่อกันนาน ๆ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ (เช่น ฟูโรซีไมด์) ยาลดการสร้างกรดกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊มป์ (เช่น โอเมพราโซล) ยากันชัก(เช่น เฟนิโทอิน ฟีโนบาร์บิทาล) เฮพาริน หรือใช้ฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน
    การไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายนาน ๆ (เช่น ผู้ป่วยที่นอนแบ็บอยู่บนที่นอนตลอดเวลา) การสูบบุหรี่ (ทำให้เอสโทรเจนในเลือดลดลง)
    การเสพติดแอลกอฮอล์
    การสูบบุหรี่

นอกจากนี้ ยังพบว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ และบางครั้งอาจพบในคนอายุไม่มากโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจนก็ได้
 

อาการ

ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการแสดง จนกระทั่งเกิดภาวะกระดูกหัก ก็จะเกิดอาการเจ็บปวด หรือความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก เช่น ปวดข้อมือ สะโพก หรือหลัง (เนื่องจากกระดูกข้อมือ สะโพก หรือสันหลังแตกหัก) ส่วนสูงลดลงจากเดิม (เนื่องจากการหักและยุบตัวของกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว) เป็นต้น

ถ้าเป็นโรคกระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิก็อาจมีอาการแสดงของโรคที่เป็นสาเหตุ


ภาวะแทรกซ้อน

ที่สำคัญคือ กระดูกหัก อาจทำให้เกิดความพิการเดินไม่ได้ หรือหลังโกงหลังค่อม

ในรายที่กระดูกสะโพกหัก ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ถ้าจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงหลังผ่าตัดได้


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้

ถ้ามีภาวะกระดูกหักเฉียบพลัน เช่น ตกจากที่สูง หกล้ม ก็จะตรวจพบอาการเจ็บปวด บวม หรือกระดูกบิดเบี้ยว หรือขยับเขยื้อนไม่ได้

ถ้ากระดูกสันหลังแตกหัก หรือยุบตัวแบบเรื้อรัง (มักเกิดจากแรงกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย โดยที่ผู้ป่วยอาจไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเมื่อไร) ผู้ป่วยจะมีส่วนสูงลดลง หรือหลังโกงหลังค่อม

นอกจากนี้อาจตรวจพบอาการของโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคคุชชิง

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการเอกซเรย์กระดูกตรวจความหนาแน่นของกระดูก (bone mineral density) ด้วยเครื่องตรวจโดยเฉพาะ เช่น การตรวจด้วยวิธี DXA (dual-energy X-ray absorptiometry) การตรวจอัลตราซาวนด์กระดูกส้นเท้า (calcaneal ultrasonography) เป็นต้น นอกจากนี้ อาจทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจพิเศษอื่น ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุในรายที่สงสัยว่ามีโรคหรือภาวะอื่นร่วมด้วย


การรักษาโดยแพทย์

สำหรับผู้ป่วยที่มีกระดูกพรุนโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะให้กินแคลเซียม เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต และอาจให้วิตามินดีร่วมด้วย ในรายที่อยู่แต่ในที่ร่ม (ไม่ได้รับแสงแดด) ตลอดเวลา

สำหรับหญิงหลังวัยหมดประจำเดือน แพทย์อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนเอสโทรเจนทดแทน

สำหรับผู้ชายสูงอายุที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนร่วมด้วย อาจต้องให้ฮอร์โมนชนิดนี้เสริม

นอกจากนี้ อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นการดูดซึมแคลเซียม และ/หรือยาลดการสลายกระดูกเพิ่มเติมแก่ผู้ป่วยบางราย เช่น ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต (bisphosphonate), แคลซิโทนิน (calcitonin)

หากไม่ได้ผลหรือใช้ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตไม่ได้ แพทย์อาจให้ยาชนิดใหม่ เช่น ดีโนซูแมป (denosumab), เทริพาราไทด์ (teriparatide)

ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาเป็นประจำ แพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะ อาจต้องทำการตรวจกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูก (สำหรับผู้ที่กินเอสโทรเจน) ปีละ 1 ครั้ง ตรวจความหนาแน่นของกระดูกทุก 2-3 ปี เอกซเรย์ในรายที่สงสัยมีกระดูกหัก เป็นต้น

ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น กระดูกหัก ก็ให้รักษา เช่น การเข้าเฝือก การผ่าตัด การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น

ในรายที่มีโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิ ก็ให้การรักษาไปพร้อม ๆ กัน

การดูแลตนเอง

ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ หญิงวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดนาน ๆ (เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากันชัก) เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจกรองโรคกระดูกพรุน

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    งดบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด
    ระมัดระวังอย่าให้หกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ ทำให้กระดูกหัก เช่น แก้ไขภาวะความดันตกในท่ายืน หรือสายตามัว (เช่น ต้อกระจก) หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอน หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง (เช่น ยากล่อมประสาท) และควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย (เช่น บันไดที่ขึ้นลง แสงสว่าง ห้องน้ำ พื้นต่างระดับ ราวเกาะยึด เป็นต้น)


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการปวดข้อ หรือปวดหลังเฉียบพลัน หรือสงสัยกระดูกหัก
    ขาดยาหรือยาหาย
    กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

1. กินแคลเซียมให้เพียงพอทุกวัน* อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม เนยแข็ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาไส้ตัน) กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักสีเขียวเข้ม (เช่น คะน้า ใบชะพลู) งาดำคั่ว

แนวทางปฏิบัติ สำหรับเด็กและวัยรุ่นควรดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุดื่มนมวันละ 1-2 แก้วเป็นประจำ จะทำให้ได้รับแคลเซียมร้อยละ 50 ของปริมาณที่ต้องการ ส่วนแคลเซียมที่ยังขาดให้กินจากอาหารแหล่งอื่น ๆ ประกอบ

ผู้ใหญ่บางคนที่มีข้อจำกัดในการดื่มนม (เช่น มีภาวะไขมันในเลือดสูง อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด) ให้เลือกกินเนยแข็ง นมเปรี้ยว นมพร่องมันเนย แทน หรือบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงในแต่ละมื้อให้มากขึ้น

2. ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังที่มีการถ่วงหรือต้านน้ำหนัก (weight bearing) เช่น การเดิน การวิ่ง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนัก จะช่วยให้มีมวลกระดูกมากขึ้น และกระดูกมีความแข็งแรง ทั้งแขน ขา และกระดูกสันหลัง

3. รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูก ในบ้านเราคนส่วนใหญ่จะได้รับแสงแดดเพียงพออยู่แล้ว นอกจากในรายที่อยู่แต่ในบ้านตลอดเวลา ก็ควรจะออกไปรับแสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้าหรือยามเย็น วันละ 10-15 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ถ้าอยู่แต่ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดด อาจต้องกินวิตามินดีเสริม

4. รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอมเกินไป) เพราะคนผอมจะมีมวลกระดูกน้อย เสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้

5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น

    ไม่กินอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะอาหารพวกนี้จะกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากเกินปกติ
    ไม่กินอาหารเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะเกลือโซเดียมจะทำให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง และเพิ่มการขับแคลเซียมทางไตมากขึ้น
    ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก เพราะกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
    หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลตในปริมาณมาก เพราะแอลกอฮอล์และกาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านี้จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก (กาแฟไม่ควรดื่มเกินวันละ 3 แก้ว แอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 2 หน่วยดื่ม ซึ่งเทียบเท่าแอลกอฮอล์สุทธิ 30 มล.)
    งดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น (เนื่องจากลดระดับเอสโทรเจนในเลือด)
    ระวังการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ซึ่งจะเร่งการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย


6. รักษาโรคหรือภาวะที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคคุชชิง
 

* สำหรับคนไทยซึ่งมียีนที่ควบคุมการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เล็กได้ดีกว่าชาวตะวันตก และได้รับแสงแดดช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีได้ตลอดปี มีความต้องการปริมาณแคลเซียมน้อยกว่าชาวตะวันตก ซึ่งแนะนำให้บริโภคแคลเซียมตามช่วงอายุ ดังนี้
    อายุ 9-18 ปี ควรบริโภคแคลเซียม 1,000 มก./วัน
    อายุมากกว่า 50 ปี ควรบริโภคแคลเซียม 800-1,000 มก./วัน
    อายุมากกว่า 50 ปี ควรบริโภคแคลเซียม 800-1,000 มก./วัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวัยเด็กและหนุ่มสาว ควรบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอ เพื่อสะสมมวลกระดูกไว้ให้มาก จะป้องกันการเกิดกระดูกพรุนได้ดีกว่าการเสริมแคลเซียมหลังอายุ 30-35 ปี (ช่วงที่ร่างกายสร้างมวลกระดูกหนาแน่นสูงสุด) ไปแล้ว

ข้อแนะนำ

โรคนี้พบได้บ่อยในหญิงหลังวัยหมดประจำเดือน และผู้สงอายุ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อกระดูกหักง่าย ควรป้องกันด้วยการปฏิบัติตัวต่าง ๆ (เช่น การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมให้มากพอ การออกกำลังกาย การรักษารูปร่างอย่าให้ผอมเกินไป การไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุราจัด) ตั้งแต่วัยเด็กและวัยหนุ่มสาว



หมอออนไลน์: กระดูกพรุน (Osteoporosis) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com

xandrio

  • บุคคลทั่วไป
Re: หมอออนไลน์: กระดูกพรุน (Osteoporosis)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2024, 19:00:17 pm »

xandrio

  • บุคคลทั่วไป
Re: หมอออนไลน์: กระดูกพรุน (Osteoporosis)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2024, 13:17:41 pm »
audiobookkeepercottageneteyesvisioneyesvisionsfactoringfeefilmzonesgadwallgaffertapegageboardgagrulegallductgalvanometricgangforemangangwayplatformgarbagechutegardeningleavegascauterygashbucketgasreturngatedsweepgaugemodelgaussianfiltergearpitchdiameter
geartreatinggeneralizedanalysisgeneralprovisionsgeophysicalprobegeriatricnursegetintoaflapgetthebouncehabeascorpushabituatehackedbolthackworkerhadronicannihilationhaemagglutininhailsquallhairyspherehalforderfringehalfsiblingshallofresidencehaltstatehandcodinghandportedheadhandradarhandsfreetelephone
hangonparthaphazardwindinghardalloyteethhardasironhardenedconcreteharmonicinteractionhartlaubgoosehatchholddownhaveafinetimehazardousatmosphereheadregulatorheartofgoldheatageingresistanceheatinggasheavydutymetalcuttingjacketedwalljapanesecedarjibtypecranejobabandonmentjobstressjogformationjointcapsulejointsealingmaterial
journallubricatorjuicecatcherjunctionofchannelsjusticiablehomicidejuxtapositiontwinkaposidiseasekeepagoodoffingkeepsmthinhandkentishglorykerbweightkerrrotationkeymanassurancekeyserumkickplatekillthefattedcalfkilowattsecondkingweakfishkinozoneskleinbottlekneejointknifesethouseknockonatomknowledgestate
kondoferromagnetlabeledgraphlaborracketlabourearningslabourleasinglaburnumtreelacingcourselacrimalpointlactogenicfactorlacunarycoefficientladletreatedironlaggingloadlaissezallerlambdatransitionlaminatedmateriallammasshootlamphouselancecorporallancingdielandingdoorlandmarksensorlandreformlanduseratio
languagelaboratorylargeheartlasercalibrationlaserlenslaserpulselatereventlatrinesergeantlayaboutleadcoatingleadingfirmlearningcurveleavewordmachinesensiblemagneticequatormagnetotelluricfieldmailinghousemajorconcernmammasdarlingmanagerialstaffmanipulatinghandmanualchokemedinfobooksmp3lists
nameresolutionnaphtheneseriesnarrowmouthednationalcensusnaturalfunctornavelseedneatplasternecroticcariesnegativefibrationneighbouringrightsobjectmoduleobservationballoonobstructivepatentoceanminingoctupolephononofflinesystemoffsetholderolibanumresinoidonesticketpackedspherespagingterminalpalatinebonespalmberry
papercoatingparaconvexgroupparasolmonoplaneparkingbrakepartfamilypartialmajorantquadruplewormqualityboosterquasimoneyquenchedsparkquodrecuperetrabbetledgeradialchaserradiationestimatorrailwaybridgerandomcolorationrapidgrowthrattlesnakemasterreachthroughregionreadingmagnifierrearchainrecessionconerecordedassignment
rectifiersubstationredemptionvaluereducingflangereferenceantigenregeneratedproteinreinvestmentplansafedrillingsagprofilesalestypeleasesamplingintervalsatellitehydrologyscarcecommodityscrapermatscrewingunitseawaterpumpsecondaryblocksecularclergyseismicefficiencyselectivediffusersemiasphalticfluxsemifinishmachiningspicetradespysale
stunguntacticaldiametertailstockcentertamecurvetapecorrectiontappingchucktaskreasoningtechnicalgradetelangiectaticlipomatelescopicdampertemperateclimatetemperedmeasuretenementbuildingtuchkasultramaficrockultraviolettesting

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google