ไวรัสตับอักเสบ A B C D และ E แตกต่างกันอย่างไร?โรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ไวรัสตับอักเสบ ชนิด A B C D และ E โดยจะมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามชนิด
ไวรัสตับอักเสบ A
การติดต่อ : ติดต่อทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
อาการ : ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ดีซ่าน
ไวรัสตับอักเสบ B
การติดต่อ : ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ จากมารดาสู่บุตร
อาการ : ตับอักเสบรุนแรง อาจพัฒนาไปเป็นโรคตับ มะเร็งตับ
ไวรัสตับอักเสบ C
การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด เพศสัมพันธ์
อาการ : ตับอักเสบเรื้อรัง จนกลายเป็นตับแข็ง มะเร็งตับได้
ไวรัสตับอักเสบ D
การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B
อาการ : ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยตับเรื้อรังรุนแรงเสี่ยงเสียชีวิตได้
ไวรัสตับอักเสบ E
การติดต่อ : เกิดจากทานอาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น เนื้อหมู สัตว์ปีก
อาการ : ตาเหลือง ตัวเหลือ อ่อนเพลีย
“ตับแข็ง” ไม่ดื่มก็เป็นได้
ตับแข็ง – เป็นภาวะที่เกิดขึ้นของโรคตับซึ่งทำให้เกิดการทำลายตับและการอักเสบ เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นซ้ำๆ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ดีของตับถูกทำลายเกิดแผลเป็นและพังผืดขึ้นมาแทนที่เนื้อตับจึงสูญเสียความยืดหยุ่นและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด
สาเหตุการเกิดโรคตับแข็ง นอกจากการดื่มเหล้า
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ซี, ดี
การรับประทานยาหรือสมุนไพรบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
ภาวะไขมันเกาะตับ
ภาวะดีซ่านจากท่อน้ำดีอุดตัน
ตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเองที่ทำงานไม่ปกติ
ภาวะหัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน
โรควิลสัน (Wilson’s Disease) เกิดจากการมีการสะสมทองแดงมากเกินไปในตับ
การได้รับสารพิษที่มีผลต่อตับ
อาการเตือนโรคตับแข็ง
อ่อนเพลีย
เหนื่อยง่าย
เบื่ออาหาร
คลื่นไส้
น้ำหนักลด
สับสนมึนงง
ความจำไม่ดีพูดอะไรก็จำไม่ค่อยได้
ถ้าเป็นมากขึ้นอาจมีอาการคันตามตัวรวมถึงมีอาการตาเหลืองตัวเหลืองในช่วงระยะนี้ได้ด้วย
ภาวะตับแข็ง ยังอาจส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดทำให้ความดันในเส้นเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำเลือดออกง่าย ม้ามโต ขาบวม มีน้ำในช่องท้อง มีการเปลี่ยนแปลงตามผิวหนัง คือ มีจุดเล็กๆ แดงๆ เกิดขึ้น มีเส้นเลือดผิดปกติเกิดขึ้นในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งถ้าเส้นเลือดเหล่านี้แตกก็อาจทำให้ถ่ายอุจจาระปนเลือดได้
สิ่งที่ผู้ป่วยภาวะตับแข็งควรปฏิบัติเพื่อลดการทำลายตับและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
หลีกเลี่ยงทุกสิ่งที่เป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อตับเช่นงดดื่มแอลกอฮอล์ลดน้ำหนักเพื่อป้องกันภาวะไขมันเกาะตับงดการรับประทานยาที่เป็นอันตรายต่อตับเป็นต้น
ห้ามงดการรับประทานโปรตีนเพราะจะทำให้การเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอผิดปกติไปควรรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่ายเช่นเนื้อปลาถั่วเหลืองเป็นต้น
จำกัดการรับประทานเกลือและอาหารที่มีรสเค็มเพราะจะทำให้เกิดอาการบวมมากขึ้น
ไม่ควรปล่อยให้ท้องผูกเพราะจะทำให้สารพิษดูดซึมเข้าไปในร่างกายและเกิดการสะสมได้มากขึ้น
หลีกเลี่ยงการรับประทานยาและสมุนไพรที่ส่งผลต่อตับ
คอยสังเกตอาการว่ามีอาการแย่ลงหรือไม่ถ้าอาการแย่ลงควรรีบมาพบแพทย์ทันที
พบแพทย์เพื่อตรวจติดตามอาการเป็นระยะ